Welcome to Thailand

Vietnam

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำสั่ง

Sar54

รวมเล่ม

เค้าโครงการวิจัยสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2554










 





เค้าโครงการวิจัยสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ปีการศึกษา 2554














คำนำ

          สืบเนื่องจากการการดำเนินงานด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2554 ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อ 8                ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 มีระบบและกลไกเพื่อสร้างงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ จากสภาพปัญหาของสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด                        และตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม ของการประกันคุณภาพการศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จึงมีมติเห็นชอบให้จัดทำเค้าโครงงานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อันสะท้อนให้เห็นถึงการนำปัญหาในการสื่อสารด้วยการพูดภาษาอังกฤษของผู้เข้าร่วมโครงการอบรมมาบูรณาการร่วมกับการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชา
          หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เค้าโครงงานวิจัยฉบับนี้ จะมีการดำเนินการต่อไปจนประสบผลสำเร็จและขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่านที่มีส่วนช่วยให้เกิดเค้าโครงวิจัยฉบับนี้

         
                                                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ เอี่ยมสะสะอาด
ประธานสาขาวิชาภาษาอังกฤษ


















เค้าโครงการวิจัยสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

1.ชื่อโครงการ
          ภาษาไทย        การศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

          ภาษาอังกฤษ     A Study of Problems in English Speaking in Communication of
                             Bachelor of Education Students Majoring in English Faculty of
                             Education Bansomdejchaopraya Rajabhat University

2. ความสอดคล้องกับ
                   2.1   นโยบายรัฐบาล/ประเทศ
                             การพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อม
                             สำหรับการเปิดประตูสู่อาเซียน
                   2.2   ประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
                               ด้านการวิจัยเพื่อนาไปประยุกต์ใช้และพัฒนาท้องถิ่น
                   2.3   ผลผลิตของงานวิจัย :
                              -
3.ประเภทของงานวิจัย: การวิจัยพื้นฐาน

4.สาขาที่ทำการวิจัย: ศึกษาศาสตร์

5. คณะผู้ดำเนินงานวิจัย
   5.1 ชื่อหัวหน้าโครงการวิจัย (ภาษาไทย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด
                             (ภาษาอังกฤษ) Assistant Professor Dr.Areewan Iamsa-ard
                             คุณวุฒิ: ปร.ด.(หลักสูตรและการสอน)        ตำแหน่ง: ประธานสาขาวิชาภาษาอังกฤษ     
                             สาขาวิชา: ภาษาอังกฤษ                           คณะ: ครุศาสตร์
                             โทรศัพท์: 081-398-7273                  
E-mail: areewanareewan.iamsaard@gmail.com
                             ที่อยู่: 151/13 ถ.สระแก้ว ตำบลพระประโทน จ.นครปฐม
                             ประสบการณ์ในงานวิจัย: วิจัยในชั้นเรียน, วิจัยเชิงประยุกต์, วิจัยเชิงคุณภาพ
                             ประวัติการศึกษา: ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน) ม.เกษตรศาสตร์       
                             ผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่:
                             Iamsa-ard, A. (2012). Enhancement of English Speaking Skill and Self-
                                      Confidence of Post Graduate Students through Training and  
Autonomous Learning Approach in Proceedings of the 1st
                                       International Seminar on Malaysian Studies, 7-8 May 2012
                             อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. (2553). การนิเทศการสอน. ครุศาสตร์สาร
                                       ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2553. (208-215).

          5.2 ผู้ร่วมโครงการวิจัย  
          1. ชื่อ (ภาษาไทย) นายธานินทร์ คงอินทร์
                 (ภาษาอังกฤษ) Mr.Thanin Kong-in
                             คุณวุฒิ: ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร)     ตำแหน่ง: อาจารย์
                             สาขาวิชา: ภาษาอังกฤษ                            คณะ: ครุศาสตร์
                             โทรศัพท์: 084-207-4095                  
E-mail: sirima.apicharin@gmail.com
                             ที่อยู่: 1061 อิสรภาพ 15 ถนนอิสรภาพ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
                             ประสบการณ์ในงานวิจัย: งานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
                             ประวัติการศึกษา: ศศ.ม.(ภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                             ผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่:
                             Kong-in, T. (2012). Influence of English Intonational Variations towards
                                      Attitude and Pragmatic Interpretation in Proceedings of the 32nd
                                       Annual Thailand TESOL International Conference,
                                       27-28 January 2012. (Forthcoming).
                             ธานินทร์ คงอินทร์. (2553). ปัจจัยของภาวะถดถอยในการออกเสียงภาษาอังกฤษของ
                                      คนไทย. ครุศาสตร์สาร ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2553. (254-263).
                             ธานินทร์ คงอินทร์. (2551). การแปรของทำนองเสียงในประโยคคำถามไทย.
วารสารศิลปศาสตร์ ปีที่ ฉบับที่ 1 (57-78).  
          2. ชื่อ (ภาษาไทย) นางสาวสายสุนีย์ อุลิศ
                 (ภาษาอังกฤษ) Miss Saisunee Ulis
                             คุณวุฒิ:                                          ตำแหน่ง:
                             สาขาวิชา: ภาษาอังกฤษ                            คณะ: ครุศาสตร์
                             โทรศัพท์: 081-995-6897                  
E-mail: moobum@hotmail.com
                             ที่อยู่: 55/240 หมู่ 5 หมู่บ้านบุรีรมย์ วงแหวน-ปิ่นเกล้า ซอยวัดพระเงิน
                                    ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
                             ประสบการณ์ในงานวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
                             ประวัติการศึกษา: ศษ.ม.(การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ)
                                                  มหาวิทยาลัยศิลปากร
                             ผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่:
                             สายสุนีย์ อุลิศ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของ
                                      นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
                                      คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
                                      มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: กรุงเทพฯ.
                             สายสุนีย์ อุลิศ. (2553). ผลการนำ ESD ประยุกต์ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ.
                                      ครุศาสตร์สารปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2553.
                             สายสุนีย์ อุลิศ. (2552). การประยุกต์ใช้ ESD ในการเรียนสอนภาษาอังกฤษ.
                                      ครุศาสตร์สาร ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2552.
          3. ชื่อ (ภาษาไทย) นางสาวพัฐฬภรณ์ พรชุติ
                 (ภาษาอังกฤษ) Miss Pataraporn Pornchuti
                             คุณวุฒิ: ค.ม.(การสอนภาษาอังกฤษ)           ตำแหน่ง: อาจารย์
                             สาขาวิชา: ภาษาอังกฤษ                            คณะ: ครุศาสตร์
                             โทรศัพท์: 089-493-8083                  
E-mail: pccsthai@hotmail.com
                             ที่อยู่: -
                             ประสบการณ์ในงานวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
                             ประวัติการศึกษา: ค.ม.(การสอนภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
                             ผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่:
                             Pornchuti, P. (2010). How to Be a Professional Teacher. Journal of  
Education 1(2010), Bansomdejchaopraya Rajbhat University,
250-253. 
          4. ชื่อ (ภาษาไทย) นางสายฝน ทรงเสี่ยงไชย
                 (ภาษาอังกฤษ) Mrs.Saifon Songsiengchai
                             คุณวุฒิ: ศษ.ม.(การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ)                                                        ตำแหน่ง: อาจารย์                                   คณะ: ครุศาสตร์
                             สาขาวิชา: ภาษาอังกฤษ                           
                             โทรศัพท์: 086-576-5094                  
E-mail: fon3106@hotmail.com
                             ที่อยู่: 96/10 หมู่ 5 ถนน 345 ตำบลบางคูวัด อ.เมือง ปทุมธานี 10200
                             ประสบการณ์ในงานวิจัย:
                             ประวัติการศึกษา: ศษ.ม.(การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ)
                                                    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
                             ผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่: -         
          5.3 ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
                ชื่อ (ภาษาไทย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศสุดา รัชฎาวิศิษย์กุล
                 (ภาษาอังกฤษ) Assistant Professor Dr.Ketsuda Ratchdawisitkul
                             คุณวุฒิ: ปร.ด.(หลักสูตรและการสอน)       ตำแหน่ง: ผศ.ระดับ 8
                             สาขาวิชา:                                          คณะ: บัณฑิตวิทยาลัย
                             โทรศัพท์: 081-903-5397                                ม.กรุงเทพ-ธนบุรี      
E-mail:
                             ที่อยู่: -
                             ประสบการณ์ในงานวิจัย: การวิจัยเชิงประยุกต์ การวิจัยเชิงคุณภาพ
                             ประวัติการศึกษา: ปร.ด.(หลักสูตรและการสอน) ม.เกษตรศาสตร์
                             ผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่:
                             เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล. (2547). การพัฒนาการเรียนการสอนที่สนองต่อรูปแบบ
                                      การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ
การสอน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

6. ความสำคัญและที่มาของการวิจัย
          ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสื่อสารกับประชาคมโลกได้อย่างไร้ขีดจำกัด ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความรู้ในแขนงต่างๆ ดังนั้นการพัฒนาประเทศในทุกด้านให้มีความเจริญก้าวหน้าและทัดเทียมกับนานาประเทศในโลกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาศักยภาพของประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการจัดการศึกษาของชาติกำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับต่างๆ มาเป็นเวลานานเพื่อให้ประชากรของชาติสามารถสื่อสารกับนานาชาติด้วยภาษาอังกฤษทั้งทางด้านการฟัง การพูดการอ่าน และการเขียนเป็นที่น่าสังเกตว่ามีนักเรียน นิสิต นักศึกษาตลอดจนประชาชนที่มีการศึกษายังคงแสวงหาสถาบันสำหรับสอนพิเศษภาษาอังกฤษอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้เรียนจำนวนมากที่ต้องการเรียนการพูดภาษาอังกฤษ ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนถึงปัญหาของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนและสถานศึกษาที่ผ่านมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาที่ตั้งไว้ ตลอดจนมีข้อมูลที่นำเสนอต่อสังคมไทยและทั่วโลกถึงความล้มเหลวของการพูดภาษาอังกฤษของคนไทยมีมากถึงร้อยละ 99 (Piset Wattanavitukul, September 2006)
          ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจำนวนผลงานที่นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ                ผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ นำเสนอและเผยแพร่สู่สังคมโลกจำนวนน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมนำเสนอผลงานปากเปล่าในการประชุมสัมมนาวิชาการในระดับนานาชาติ การพูดภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งที่ทำให้คนไทยเสียโอกาสในการแข่งขัน เผยแพร่ความรู้ ความสามารถและผลงานการคิดค้นสู่เวทีโลกด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่จะสำเร็จการศึกษาออกไปรับใช้สังคมและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้กับภาครัฐและส่วนต่างๆ ของประเทศในอนาคต นอกจากนี้การศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษเป็นประเด็นสืบเนื่องจากการบริการทางวิชาการแก่สังคม หัวข้อ ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพชุมชนเปิดประตูสู่อาเซียน ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ ประจำปี 2554 ซึ่งพบว่า ผู้เข้าอบรมมีปัญหาการพูดภาษาอังกฤษจากหลายสาเหตุ โดยเหตุผลสำคัญคือ การขาดความมั่นใจและความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางภาษา ผลของการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ และการปรับปรุงหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษโดยรวม




7. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          1. เพื่อสำรวจปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
          2. เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

8. ขอบเขตของการวิจัย
          ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 ซึ่งศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

9. กรอบแนวความคิดในการวิจัย
         
ไดอะแกรมวงกลม










10. นิยามศัพท์เฉพาะ
          ปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษ หมายถึง อุปสรรคหรือความยากลำบากในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างประเทศของนักศึกษา
          นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรมในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ และการปรับปรุงหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษโดยรวม

12. ทบทวนวรรณกรรม
          ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในที่ชุมชน มักปรากฏในรูปแบบของการพูดติดขัด                  มีคำศัพท์จำนวนจำกัด ขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และขาดทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชากรกลุ่มตัวอย่างรู้สึกขาดความมั่นใจ ดังเช่นเมื่อถูกถามว่าได้อะไรจากการเรียนวิชาต่างๆ ด้วยวาจา
          เลขา ปิยะอัจฉริยะ (2524: 237-279) ให้ความหมายของความมั่นใจในตัวเองว่า เป็นความนึกคิดเกี่ยวกับบุคคลที่เชื่อว่าตนมีความสามารถ มีคุณค่า ยอมรับและพอใจในความเป็นตนเองแล้วย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นได้ จากคำจำกัดความดังกล่าวจะเห็นว่าผู้เรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะคิดว่าตนเองขาดความรู้ความสามารถและทักษะการพูด พูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง รู้ศัพท์น้อย และรู้สึกไม่พอใจกับระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของตนเอง ความนึกคิดเช่นนี้ส่งผลให้ขาดความเชื่อมั่นในการพูด ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยทั้งในส่วนของแบบสอบถามที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีปัญหาการพูดติดขัด คิดคำศัพท์ไม่ออก ออกเสียงไม่ถูก ตื่นเต้น กังวล ซึ่งสอดคล้องกับผลจากการสังเกตพฤติกรรมการพูดแสดงความคิดเห็นหน้าห้องเรียนที่พบว่ากลุ่มตัวอย่างพูดติดขัด มีข้อผิดพลาดในการใช้ภาษา ออกเสียงไม่ถูกทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวยังสอดคล้องกับผลของการสัมภาษณ์ ที่มีประชากรของกลุ่มตัวอย่างหลายคนได้พูดถึงปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษของตนเอง ได้แก่ เรื่องคำศัพท์ไวยากรณ์ การเรียงประโยค การออกเสียง

สาเหตุของปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษ
1. การขาดเจตคติที่ดีต่อการพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ
          ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบของผู้เรียนเป็นเรื่องเจตคติในตัวผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาหรือต่อต้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เจตคติเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในห้องเรียน ในเรื่องที่เกี่ยวกับเจตคตินี้ Gardner (1985: 7-8) กล่าวว่า เมื่ออยู่ในห้องเรียน ตัวผู้สอนและวิธี การสอนจะมีบทบาทสำคัญ (Important Role) ในการก่อให้เกิดเจตคติต่างๆในตัวผู้เรียน ถ้าผู้สอนมีทักษะการสอนภาษาที่เก่ง และสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกอยากเรียน ตลอดจนมีวิธีการสอนที่น่าสนใจ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน (Positive Attitudes) ผู้สอนที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง สำเนียงดี มีความมั่นใจบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้กำลังใจผู้เรียน เป็นสิ่งที่สร้างความกล้าในการออกไปพูดภาษาอังกฤษใน ที่ชุมชนซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวอ้างจาก Chastain (1971: 370 cited in Stevick 1976: 97) “…, the teacher should first of all appear to the students as a strong person, a source of stability. Otherwise their deepest need, at the level of security, will remain unfulfilled.” ทั้งนี้เพราะ ผู้เรียนภาษาต่างประเทศจะสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถทางภาษาใหม่ของตนได้ก็ต่อเมื่อเรียนรู้ภายใต้สภาพที่มีความกลัวน้อยที่สุด (Curran: 1962: 92 cited in Stevick: 1976: 98) ซึ่งผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นและผลักดันให้ผู้เรียนสร้างพฤติกรรมตอบสนอง
          นอกจากนี้เพื่อให้การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเกิดผลสัมฤทธิ์ในการสอนมากขึ้น ผู้สอนต้องเป็นผู้มีความรู้สึกรักในการที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนของตนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ตามอัตภาพในสภาพจริงในการสื่อสาร ดังเช่น Lyon กล่าวว่า “The passion to help one’s students grow in their own individuality, becoming emotionally more whole and intellectually more self sufficient, is perhaps the most benign of teacher attitudes. It requires great personal strength.”                       (Lyon 1971:197 cited in Stevick 1976: 87)

2. การขาดความรู้และทักษะพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
          อัจฉรา วงศ์โสธร (2527: 127) กล่าวว่า ผู้เรียนจะมีความสามารถในการสื่อสารนั้นจะต้องมีความสามารถในการใช้ภาษา 3 ด้าน หนึ่งในนั้น คือ สมรรถภาพด้านกฎเกณฑ์ภาษา (Linguistic Competence) หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารโดยอาศัยพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ ประกอบด้วย เสียง (Phonology) ศัพท์ (Vocabulary) ไวยากรณ์ (Grammar) และ Mackey (1965: 266 cited in Bygate, 1991: 5) กล่าวว่า การพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้นั้น ผู้พูดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ต้องมีความเข้าใจ จดจำคำศัพท์ รูปแบบ กฎเกณฑ์ของไวยากรณ์ เพื่อสามารถนำความรู้นั้นมาผูกร้อยเรียงให้เป็นข้อความและเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาพูดที่มีลักษณะใกล้เคียงการพูดของเจ้าของภาษาให้มากที่สุดเพื่อขจัดปัญหาในการสื่อสารข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความรู้พื้นฐานเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างและพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้เรียน ดังนั้นถ้าผู้เรียนมีความรู้และความสามารถทางด้านภาษาที่จำกัดจะเป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้วยวาจา การมุ่งเน้นการเรียนเรื่องของศัพท์และไวยากรณ์ โดยที่ผู้เรียนจะจดจำคำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อนำไปตอบคำถามในการสอบมากกว่าเรียนรู้เพื่อการนำไปใช้พูดสื่อสารจริง เป็นผลทำให้จำคำศัพท์ไม่ได้ ใช้ไวยากรณ์ไม่ถูก ปัญหาดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์
เรียนเดิมของผู้เรียนทั้งในด้านการรับรู้ภาษา (Receptive Skills) และการใช้ภาษา (Productive Skills) (Stevick 1976 : 110) เพราะถ้าผู้เรียนเรียนภาษาอังกฤษด้วยความรู้สึกต้องเรียนเพื่อมีความรู้สำหรับการสอบเข้าศึกษาต่อ การเรียนด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้เรียนด้วยความจำเป็น ผู้เรียนไม่มีความสนใจที่แท้จริงในการเรียนรู้หรือฝึกปฏิบัติ ทำให้ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษถูกจดจำได้ในช่วงระยะเวลาสั้นเท่านั้นดังกล่าวไว้ใน Stevick (1976: 110) “Defensive learning sees the foreign language as a vast set of sounds and words and rules and patterns …, Learning thus becomes a means of adapting to academic requirement, or to life in a foreign country but like a suit of armor it is a burden, to be worn a little as possible and cast off entirely (i.e. forgotten) at the first safe opportunity.” และถ้าการเรียนการสอนที่ผ่านมามีกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติจะทำให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์และความรู้ทางด้านไวยากรณ์ได้ดีขึ้นดังกล่าวใน Stevick (1976: 38) ว่า “…what is essential for memory is response by the learner”

3. การขาดการฝึกฝนและประสบการณ์ในการพูดเพื่อการสื่อสาร
          การพูดภาษาอังกฤษเป็นการสื่อสารที่ต้องผสมผสานความรู้ความสามารถทางด้านภาษา และความคิด Bygate (1991: 3) ผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการฝึกฟังและฝึกพูดภาษาอังกฤษจากห้องเรียน ความสามารถทางด้านการพูดภาษาอังกฤษของผู้สอนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษ และเป็นแบบอย่างสำหรับการลอกเลียนแบบของผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนภาษาอังกฤษต้องเป็นผู้มีความรู้ทางด้านภาษาโดยทั่วไปเป็นอย่างดี มีความสามารถในการใช้ภาษาดังเช่นข้อความใน TESOL (1975 cited in Brown 1994: 6) “the necessity for the teacher to understandthe nature of language, the fact of language varieties social, regional, and functional,the structure and development of the English language system …” ยิ่งไปกว่านั้นผู้สอนต้องเป็นผู้มีความสามารถในการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในทางด้านการปฏิบัติโดยใช้เทคนิคและวิธีสอนมาเป็นตัวกลางในการทำให้เกิดผลเชิงประจักษ์ แต่ถ้าผู้สอนภาษาอังกฤษไม่มีคุณสมบัติดังคำกล่าวข้างต้นก็เป็นการยากที่จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการพูดสื่อสารด้วยวาจาได้อย่างมีประสิทธิภาพการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มิได้มีแต่การออกเสียงสำเนียงที่ถูกต้องในรูปแบบที่เหมาะสมดังเช่นเจ้าของภาษา แต่การพูดต้องใช้คำศัพท์ การเรียงคำ และไวยากรณ์ของภาษานั้นมาผูกเป็นวลีและประโยคเพื่อให้เกิดความหมายที่ต้องการจะสื่อ Mackey (1965: 266 cited in Bygate 1991: 5) ดังนั้นคุณภาพการพูดจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้ภาษาต่างประเทศในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งต่อการผลิตภาษาพูด เช่นถ้าในอดีตที่ผ่านมาการเรียนภาษาอังกฤษถูกเน้นการเขียนที่ถูกต้องสมบูรณ์ ประสบการณ์นั้นจะส่งผลให้การพูดเป็นประโยคยาวซับซ้อน ทำให้การพูดฟังเข้าใจยากและทำให้การพูดขาดความเป็นธรรมชาติ สร้างความสับสนให้กับผู้ฟังได้ง่าย Bygate (1991: 10) กล่าวว่าการพูดมิได้เป็นการเอาภาษาเขียนออกมาพูด ภาษาพูดจะเป็นข้อความสั้นๆ บางข้อความอาจจะขาดความสมบูรณ์ของไวยากรณ์ ไม่เป็นประโยค แต่ต้องเป็นภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจง่าย นอกจากนี้การพูดภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในที่ชุมชนเป็นการพูดนำเสนอและเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นซึ่งผู้พูดต้องมีความคิดวิเคราะห์ภายใต้มุมมองของตนเองถ้าประสบการณ์การเรียนที่ผ่านมาไม่เคยฝึกนำเสนอความคิดก็จะทำให้สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษยากยิ่งขึ้น การที่ผู้เรียนจะมีโอกาสได้รับประสบการณ์ในลักษณะใด มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับหลักสูตรภาษาอังกฤษที่กำหนดเนื้อหาให้เรียนและฝึกปฏิบัติ และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการนำหลักสูตรไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับวิธีการวัดผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่ผ่านมาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน เป็นที่น่าสังเกต ข้อสอบในการศึกษาต่อในระดับต่างๆ ของการศึกษาไทยจะเป็นข้อสอบวัดผลทางด้านความรู้ภาษาอังกฤษที่ประกอบไปด้วยคำศัพท์ ไวยากรณ์ การอ่าน การเขียน ไม่มีการพูดและการฟัง ด้วยเหตุนี้ทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ผ่านมาไม่เกื้อหนุนกิจกรรมการพูดและฟัง

4. ขาดทักษะการเรียบเรียงความคิดในการนำเสนอ
          Finocchiaro and Sako (1983: 54) กล่าวถึงองค์ประกอบของความสามารถในการพูดเพื่อการสื่อสารว่า นอกจากผู้พูดจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการออกเสียง คำศัพท์ ตลอดจนวัฒนธรรมของภาษาแล้ว         ผู้พูดควรคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย โดยหนึ่งในนั้นคือการคำนึงถึงความคิดที่ผู้พูดต้องการจะสื่อความหมาย ซึ่งสอดคล้องกับสังเกตพฤติกรรมของประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ออกมา พฤติกรรมดังกล่าวสะท้อนถึงการขาดทักษะในการแสดงความคิดเห็นในการเรียนการสอนที่ผ่านมา

13. อุปกรณ์และวิธีทำ
      13.1 อุปกรณ์ / เครื่องมือ 
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participatory observation) การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (Structural In-depth Interview) และแบบสอบถามแบบประมาณค่าของ ลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงวุฒิ และทดสอบหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟ่า (Coefficient Alpha) มีค่าความเชื่อมั่น 0.8722
       13.2 วิธีทำวิจัย
          การวิจัยนี้ใช้การศึกษาแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่เรียนวิชื่อสารทางวัฒนธรรม (English for Cultural Communication) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 89 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
          ผู้วิจัยสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและบันทึกพฤติกรรมการพูดของกลุ่มตัวอย่างทุกสัปดาห์รวมระยะเวลา 15 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 8 สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Interview) โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 3-6 คน สัมภาษณ์ในห้องที่จัดให้โดยเฉพาะ ผู้สัมภาษณ์ดำเนินการสนทนาตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโครงสร้างในแบบสัมภาษณ์ มีการบันทึกเสียงการสนทนา ในสัปดาห์ที่9 สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างโดยแจกแบบสอบถามในชั้นเรียนและเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนในตอนท้ายของชั่วโมงเรียน
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ผลวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลวิเคราะห์
ข้อมูลจากการสังเกต และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
14. เอกสารอ้างอิง:
เลขา ปิยะอัจฉริยะ. 2526. “การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง.” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนา
          พฤติกรรมเด็ก หน่วยที่ 1-7, หน้า 237-265. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
          สุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉรา วงศ์โสธร. 2527. การสร้างข้อสอบวัดความสามารถในการสื่อความหมายทางภาษา (Pragmatic
          Communicative) กับการทดลองทางภาษาระดับ Advanced, ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบเข้า
          มหาวิทยาลัยกับหลักสูตรภาษาอังกฤษ และแนวโน้มในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ:
          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brown, H. Douglas. 1994. Principles of Language Learning and Teaching. 3rd ed. Englewood
          Cliffs: Prentice Hall Regents.
Bygate, Martin. 1991. Speaking: Language Teaching, a Scheme for Teacher Education. Oxford:
          Oxford University Press.
Finocchiaro, M. and Sako, S. 1983. Foreign language testing- a practical approach. New York:
          Regents Publishing
Gardner, R. C. 1985. Social Psychology and Second Language Learning: The Role of Attitudes
          and Motivation. London, GB: Edward Arnold.
Stevick, Earl W. 1976. Memory Meaning & Method. Massachusetts: Newbury House.
Wattanavitukul, Piset .2006. Spoken English: Why 99% of Thai and Chinese Failed in Learning
          Oral English. [Accessed 18 Dec. 2008]

15. ระยะเวลาทำการวิจัย  (สามารถทำให้เสร็จภายใน……1…..ปี......-......เดือน)
         
16แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ

กิจกรรมการวิจัย

.. 2555
พ.ศ.2556
พ.ค.
  มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
 ต.ค.
พ.ย.
 ธ.ค.
 ม.ค.
ก.พ.
 มี.ค.
เม.ย.
1.    ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง











2.    สร้างเครื่องมือและทดลองใช้











3.    เก็บรวบรวมข้อมูล











4.วิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และอภิปรายผล











5.จัดทำเอกสารรายงานผลการวิจัยและเผยแพร่













17. รายละเอียดงบประมาณของโครงการวิจัยตามหมวดเงินประเภทต่าง ๆ (คิดอย่างละเอียดตามความเป็นจริง)
รายการ
จำนวนเงิน (บาท)
1. หมวดค่าตอบแทน
-
2. หมวดค่าใช้สอย
     1) ค่าจ้างทำเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
     2) ค่าจ้างเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล
     3) ค่าจ้างพิมพ์รายงาน
     4) ค่าจ้างแปลเอกสารต่างประเทศ
     5) ค่าจ้างสำเนาเอกสาร
รวม

2,000
3,000
4,000
3,500
4,500
17,000
3. หมวดค่าวัสดุ
    1) ค่ากระดาษ A4
    2) ค่าหมึกพิมพ์ Laser
    3) ค่า Handy Drive
    4) ค่า CD-ROM
    5) ค่าแฟ้มเอกสาร
รวม

2,300
3,200
  500
1,300
1,200
8,500
รวมทั้งหมด
25,500


18. ข้าพเจ้าขอรองว่าจะปฏิบัติตามจรรยาบรรณนักวิจัยและรายการต่างๆ ที่ให้ไว้ทุกประการ



                             ลงชื่อ                                                           หัวหน้าโครงการ
                                                    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด)